วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวิดีโอ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวิดีโอ


ในปัจจุบันงานวิดีโอได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ด้วยความสามารถของงานทางด้านมัลติมีเดียที่ทำให้การนำเสนองานของเราน่าสนใจแล้วราคากล้องวิดีโอก็ราคาถูกลงมามากและหาซื้อได้ไม่ยาก พร้อมกับโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอก็มีให้เลือกใช้มากมายและก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะเรียนรู้ สำหรับสื่อนี้จะขอนำเสนอการตัดต่อด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio เพื่อเป็นพื้นฐานในการตัดต่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้

ประโยชน์
               1.  แนะนำองค์กรและหน่วยงาน การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงานและองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
                2.  บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ งานวันเกิดงานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
                3.  การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอโดยตรง เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT   เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage และอื่นๆ
                4.  การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
                5.  วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง วิทยากรที่เชิญมาบรรยาย ผู้จะเกษียณอายุจากการทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ
                ที่กล่าวมานี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองเห็นความสำคัญของงานวิดีโอมากขึ้น และได้รู้ว่าการทำวิดีโอไม่ได้ลงทุนมากและยุ่งยากอย่างที่คิดจากประสบการณ์ ในการทำงานวิดีโอ สรุปได้ว่าวิดีโอที่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนที่ใช้ แต่ขึ้นอยู่กับความประณีต และความคิดสร้างสรรค์

แนวคิดในการสร้างวิดีโอ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบครอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย โดยไม่มีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ  ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวิดีโออย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ จะไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไขภายหลัง โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
1.  เขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ   การเขียนStoryboard  คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริงในการเขียน Storyboard อาจวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพปรกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......(ดูรายละเอียดการเขียน Storyboard ท้ายใบความรู้ที่ 1)
2.  เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟล์ดนตรี
3.  ตัดต่องานวิดีโอ
การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน
4.  ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง
ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5.  แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต

1.  เครื่องคอมพิวเตอร์
     
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่จำเป็นต้องมี ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล ทำให้เราสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาประหยัด สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการตัดต่อควรมีสเป็คเครื่องขั้นต่ำ ดังนี้
* ซีพียู     
 แนะนำ Pentium  4  ความเร็ว  1  GHz  ขึ้นไป
แรมหรือหน่วยความจำ    ขนาด 512  MB ขึ้นไป
ฮาร์ดดิสก์    80  GB  ซึ่งปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์
   มีความจุ  ฮาร์ดดิสก์มากพออยู่แล้ว
ระบบปฏิบัติการ     แนะนำให้ใช้ Windows XP/2000
2.  กล้องถ่ายวิดีโอ
 กล้องถ่ายวิดีโอ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ แต่ในที่จะ
กล่าวถึงการใช้งานเฉพาะกล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอล หรือ
กล้องดิจิตอลแบบ MiniDV






3.  Capture  Card (การ์ดจับภาพวิดีโอ)
เนื่องจากเราไม่สามารถนำภาพวิดีโอที่อยู่ ในกล้องวิดีโอมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง  ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ที่เรียกว่าการ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ ช่วยเปลี่ยนเสมือนเป็นสื่อกลางในการส่งถ่ายข้อมูล จากกล้องมายังเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ ก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน






4.  ไดรว์สำหรับเขียนแผ่น CD หรือ DVD
อุปกรณ์นี้จำเป็นต้องมีหากเราต้องการสร้างงานให้อยู่ในรูปแบบ VCD หรือ DVD ซึ่งในปัจจุบันก็หาซื้อได้ไม่ยาก ราคาก็ไม่แพง

       5.  แผ่น CD สำหรับบันทึกข้อมูล
 แผ่น CD-R  (CD-ReWrite หรือ  CD Record) ใช้สำหรับ
บันทึกข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลต่างๆ โปรแกรมเพลง รูปภาพ
และภาพยนตร์ สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวจนกว่าจะเต็มแผ่น




รูปแบบของแผ่นดีวีดี
แผ่น  CD-RW (CD-Write)
     แผ่น  CD-RW (CD-Write) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลทั่วไปเช่นเดียวกับแผ่น CD-R แต่มีความพิเศษกว่าตรงที่สามารถที่จะเขียนหรือบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลที่เขียนไปแล้วได้


ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดรว
     ดีวีดีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ (DVD+-RW  drive) ก็คล้ายกับซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์นั่นเอง คือสามารถอ่านและขียนแผ่นดีวีดีแบบพิเศษ คือแผ่น DVD+-R  และแผ่น DVD+-RW ได้

แผ่นดีวีดีอาร์
     
ดีวีดีอาร์ (DVD+R : Digital Versatile Disc-Recordable)  เป็นแผ่นดีวีดีที่ผู้ใช้สามารถบันทึก หรือเขียนข้อมูลลงไปได้ครั้งเดียว จนกว่าจะเต็มแผ่น มีให้เลือกแบบด้านเดียว และ 2 ด้าน ในความจุด้านละ 4.7 GB  แผ่น  ประเภทนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน (จาก 2 ค่าย) คือ แผ่น DVD-R    DVD+R






แผ่นดีวีดีอาร์ดับบลิว
     ดีวีดีอาร์ดับบลิว (DVD+RW : Digital Versatile Disc-Re-recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่ใช้เขียน และลบข้อมูลได้หลายครั้งมีความจุ 4.7 GB


รูปแบบไฟล์ภาพ
BMP (Bitmap)
     ไฟล์ภาพประเภทที่เก็บจุดของภาพแบบจุดต่อจุดตรงๆ เรียกว่าไฟล์แบบ บิตแมพ( Bitmap ) ไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่แต่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการเก็บแบบ Bitmap ใช้เนื้อที่ในการเก็บจำนวนมาก จึงได้มีการคิดค้นวิธีการเก็บ
ภาพให้มีขนาดเล็กลงโดยยังคงสามารถเก็บภาพได้เช่นเดิม ขึ้นมาหลายวิธีการ เช่น JPEG และ GIF


      JPEG ( Joint Graphics Expert Group )
      เป็นการเก็บไฟล์ภาพแบบที่บีบอัด สามารถทำภาพ ให้มีขนาดของไฟล์ภาพเล็กกว่าแบบ Bitmap หลายสิบเท่า แต่เหมาะจะใช้กับภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติเท่านั้น ไม่เหมาะกับการเก็บภาพเหมือนจริง  เช่น ภาพการ์ตูน เป็นต้น

     GIF ( Graphics Interchange Format )
       เป็นวิธีการเก็บไฟล์ภาพแบบบีบอัดคล้ายกับ JPEG โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถเก็บภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติได้มีขนาดเล็กเท่ากับแบบ JPEG แต่สามารถเก็บภาพที่ไม่ใช่ภาพถ่ายจากธรรมชาติเช่น ภาพการ์ตูน ได้เป็นอย่างดี นากจากนี้ GIF ยังสามารถเก็บภาพไว้ได้หลายๆภาพ ในไฟล์เดียว จึงถูกนำไปใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวง่ายๆ เช่น ในอินเตอร์เน็ต







  
     TIFF ( Tagged Image File Format )
        คือการเก็บไฟล์ภาพในลักษณะเดียวกับไฟล์แบบ BMP แต่ในไฟล์มี Tagged File ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยโปรแกรมควบคุมการแสดงภาพ เช่น การแสดงหรือไม่แสดงภาพบางส่วนได้ ภาพที่เก็บไว้ในลักษณะของ TIFF จึงมีความพิเศษกว่าการเก็บแบบอื่นที่กล่าวมา นอกจากนี้ยังมีไฟล์ภาพแบบต่างๆ อีกหลายแบบ โดยแต่ละแบบจะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป มักนิยมใช่ในงานกราฟิกการพิมพ์



                ไฟล์วิดีโอที่นำมาใช้งานกับนั้นมีหลายรูปแบบ  โดยเราจะมาทำความรู้จักกับไฟล์วิดีโอแบบต่าง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและตรงตามประเภทของงาน
          ไฟล์  MPEG 
           MPEG  ( Motion  Picture  Exports   Group )  เป็นมาตรฐานสำหรับการบีบอัดวิดีโอและเสียงแบบดิจิตอล   ซึ่งเป็นรูปแบบของวิดีโอที่มีคุณภาพสูงและนิยมใช้กับงานทุกประเภทโดยไฟล์ MPEGนี้ ก็ยังแยกประเภทออกไปตามคุณสมบัติต่าง ๆ  อีกด้วย
          ในปัจจุบันนี้มีระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่นิยมใช้ในแถบภูมิภาคต่างๆ คือ
       1.  ระบบ NTSC (National Televion Standards Committee) เป็นระบบโทรทัศน์สีระบบแรกที่ใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปีค.ศ.1953 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต่อ ๆ มาได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เปอเตอริโก้ และเม็กซิโก เป็นต้น
       2.ระบบ PAL (Phase Alternation Line) เป็นระบบโทรทัศน์ที่พัฒนามาจากระบบ NTSC ทำให้มีการเพี้ยนของสีน้อยลง เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 ในประเทศทางแถบยุโรป คือ เยอรมันตะวันตก อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน   สวิตเซอร์แลนด์ และมีหลายประเทศในแถบเอเซียที่ใช้กันคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้
       3. ระบบ SECAM (SEQuentiel A Memoire("memory sequential") เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบหนึ่งคิดค้นขึ้นโดย Dr.Henry D.France เริ่มใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 นิยมใช้กันอยู่หลายประเทศแถบยุโรปตะวันออก ได้แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรีย เยอรมันตะวันออก  ฮังการี ตูนีเซีย รูมาเนีย และรัสเซีย เป็นต้น


มาตรฐานของวิดีโอมีอยู่ด้วยกันรูปแบบ คือ VCD , SVCD   และ  DVD  
ซึ่งคุณภาพของวิดีโอก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท
 โดยแต่ละรูปแบบก็มีคุณสมบัติดังนี้ 

VCD   ( Video  Compact  Disc )
               
VCD  เป็นรูปแบบของวิดีโอที่ได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปประกอบด้วยภาพและเสียงแบบดิจิตอล   ความจุของแผ่น  VCD  โดยปกติจะอยู่ที่  74/80  นาทีหรือประมาณ  650/700  เมกกะไบต์   โดยได้รับการเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ  MPEG – 1  มีความละเอียดของภาพอยู่ที่  352 x 288  พิกเซลในระบบ  PAL  และ  352 x 240  พิกเซลในระบบ  NTSC   คุณภาพของวิดีโอใกล้เคียงกับเทป  VHS  ซึ่งสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นวีซีดีโดยทั่วไปหรือจากไดรฟ์ซีดีรอมของเครื่องคอมพิวเตอร์    และแผ่นซีดีที่ใช้เขียน  VCD  ได้ก็จะมีอยู่ 2 แบบคือแผ่น  CD-R   ซึ่งเป็นชนิดที่เขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว   และแผ่น  CD-RW  ที่สามารถเขียนและลบเพื่อเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้   แต่
แผ่น  
CD-RW  มักจะอ่านไม่ได้จากจากเครื่องเล่น  VCD  หลายๆ รุ่น

SVCD  ( Super  Video  Compact  Disc )
                SVCD   เป็นรูปแบบของวิดีโอที่คล้ายกับ  VCD  แต่จะให้คุณภาพของวิดีโอทั้งในด้านภาพและเสียงที่ดีกว่า   โดยเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ  MPEG – 2  จะมีความละเอียดของภาพอยู่ที่
482 x 576  พิกเซลในระบบ  PAL  และ  480 x 480  พิกเซลในระบบ  NTSC   ซึ่งแผ่นประเภทนี้ยังมีเครื่องเล่น  VCD  หลาย ๆ รุ่นที่อ่านไม่ได้   โดยจำเป็นต้องอ่านจากเครื่องเล่น  DVD  หรือ  VCD บางรุ่นที่สนับสนุนหรือเล่นจาก  CD – ROM  จากเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น


DVD  ( Digital  Versatile  Disc )
                DVD 
                เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ให้คุณภาพของวิดีโอสูงทั้งด้านภาพและเสียงซึ่งมากกว่ารูปแบบของ  VCD  หลายเท่าตัว  โดยให้ความละเอียดของภาพอยู่ที่  720 x 480   พิกเซลในระบบ PAL
  และ  720 x 576  พิกเซลในระบบ  NTSC   โดยมาตรฐานของแผ่น  DVD  ก็มีหลายประเภท  เช่น  DVD + R/RW ,  DVD – R/RW ,  DVD + RDL  และ  DVD + RAM  ซึ่งความจุของแผ่น  DVD  ก็มีให้เลือกใช้ตามชนิดของแผ่น  โดยมีตั้งแต่  4.7   กิกะไบต์ไปจนถึง  17  กิกะไบต์   ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้อย่างสบาย    ซึ่งคาดการณ์กันว่าสื่อประเภท  DVD  คงจะเข้ามาแทนที่ VCD  ได้ในไม่ช้า



รูปแบบของไฟล์เสียงชนิดต่าง ๆ

                ในการบันทึกเสียงในระบบ  Hard disk  Recording  จะมีรูปแบบของการเก็บข้อมูลเสียงมากมาย และแต่ละรูปแบบก็สามารถเปลี่ยนไปมากันได้ บางรูปแบบที่มีการบีบอัด เมื่อเปลี่ยนกับมาเป็นรูปแบบที่ไม่มีการบีบอัดก็จะได้คุณภาพเสียงเหมือนที่บีบอัดไปแล้ว เพราะมีการสูญเสียคุณภาพสัญญาณไปในขั้นตอนของการบีบอัดไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้โปรแกรมดนตรีมักจะเก็บข้อมูลเสียงดังนี้

AIFF
                ย่อมาจาก  Audio Interchange File Format เป็นรูปแบบที่ใช้กันมากกับโปรแกรมบน Mac เพราะ Apple เป็นผู้ริเริ่ม เป็นได้ทั้ง Mono และ Stereo ความละเอียดเริ่มต้นที่ 8 Bit/22 kHz ไปจนถึง 24 bit/ 96 kHz และมากกว่านั้น
MP3
                เป็นรูปแบบที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน ในฐานะที่คุณภาพเสียงที่ดีในขณะที่ข้อมูลน้อยมาก ประมาณ 1 MB ต่อ เพลงความยาว 1 นาทีแบบ Stereo ซึ่งเป็นการบีบอัดโดยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลเสียง และตัดเสียงที่หูของมนุษย์ไม่สามารถได้ยินโดยอ้างอิงจากงานวิจัย Psychoacoustic   แต่ไม่สามารถให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าเสียงแบบ Full Bandwidth หรือ Hi-fi ได้ เพราะมันเป็นการบีบอัดที่สูญเสียหรือเรียกว่า “Lossy Technology” ถึงแม้ว่าเจ้าของค่ายเพลงในเมืองไทยหรือทั่วโลกไม่ชอบมัน แต่ในเมื่อมันคุ้มค่าสำหรับเก็บไว้ฟังหรือส่งต่องานให้เพื่อน โปรแกรมดนตรีส่วนใหญ่ก็ให้เราสามารถ import /export งานเป็น MP3 ได้


QuickTime

                แม้ไม่ได้เป็นรูปแบบของการเก็บข้อมูลเสียงโดยเป็นโปรแกรมเล่น  media  ที่พัฒนาโดย Apple   แต่โปรแกรมดนตรีบางตัวก็สามารถ Save หรือ Load  ข้อมูลเสียง , Video , MIDI  เป็น File ของ QuickTime ได้ สิ่งสำคัญที่ควรรู้อีกอย่างก็คือข้อมูลเสียงที่  save  มาจาก QuickTime หรือโปรแกรมที่ Compatible  กับ QT อย่าง TC Works Spark  อาจจะเป็นไฟล์  Extension  อย่าง .mov , .aif  หรือ .WAV  ก็ได้   แต่ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องนี้ เนื่องจากโปรแกรมดนตรีส่วนใหญ่จะสามารถเล่นไฟล์  QT โดยไม่สนใจว่าจะเป็นไฟล์ Extension แบบไหนก็ตาม

RealAudio
 คนชอบฟังเพลงบน Internet คงรู้จักกันดี ไฟล์ RealAudio จะแสดง Extension เป็น .ra หรือ .rm ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ RealSystem G2 ไว้สำหรับการเล่น multimedia จาก RealNetworks ซึ่งจะมี Tools ในการเล่น, encode รวมไปถึง tools ในการทำ server ให้ใช้ฟรี ๆ ในการส่ง Audio, Video, Animation ผ่านเวป แต่แม้ว่าโปรแกรมดนตรีส่วนใหญ่จะไม่ใช้ RealAudio ในการบันทึก แต่กับบางโปรแกรม เราสามารถเก็บงานของเราเป็น RealAudio เพื่อใช้บนเว็ป ซึ่งแน่นอน ว่า RealAudio ก็เป็น Lossy Format เหมือนกับ MP3

REX
 ป็นไฟล์เสียงของโปรแกรม Propellerhead Recycle ซึ่งเป็นโปรแกรมที่แบ่งไฟล์เสียงประเภท Loop (เป็นวลีดนตรีหรือจังหวะที่สามารถเล่นซ้ำไปเรื่อย ๆ ต่อเนื่องกันได้) ออกเป็นชิ้น ๆ เช่นเสียงกระเดื่อง กลองสแนร์ หรือ ไฮ-แฮท ซึ่งไฟล์ที่ถูกแบ่งเหล่านี้สามารถนำไปใช้กับ Sampler แล้ว Trigger โดย MIDI Sequence ที่สร้างขึ้นมาโดย Recycle เช่นกัน ทำให้เราสามารถที่จะเร่งหรือลดความเร็วโดยที่ pitch ของเสียงไม่มีการเปลี่ยนเลย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับ Technology Groove Control จาก Spectrasonics และ ILIO แต่ต่างกันตรงที่ Groove Control นั้นมีการเตรียมไฟล์ที่หั่นไว้แล้วกับ MIDI โดยทาง Spectrasonics เอง ไม่รู้ว่า ทาง Spectrasonics จะใช้ Recycle ทำรึเปล่านะครับ ไฟล์ REX เองมี Extension อยู่หลายอันเลยอย่าง .rx2 (Recycle 2.0 หรือสูงกว่า).ryc และ .rex ซึ่งสร้างมาจากเวอร์ชันแรก
Sound Designer II
                โด่งดังมาจาก โปรแกรม Sound Designer Stereo Editing จาก Digidesign และใช้กับ Pro Tools ด้วย Sound Designer II หรือ SD II สนับสนุนไฟล์เสียงที่ความละเอียด ต่าง ๆ เหมือนกับ WAV และ AIFF โปรแกรมดนตรีส่วนใหญ่ก็จะมีคุณสมบัติในการแปลงไฟล์ WAV หรือ AIFF มาเป็น SD II



WAV






























 ถูกสร้างขึ้นจากการรวมตัวกันของ Microsoft กับ IBM WAV format สามารถใช้ได้กับ bit depths และ sample rate ในระดับต่างกัน ในขณะที่ AIFF เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้ PC ด้วย ในเร็วๆนี้ Acidized WAV files ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีก นี่คือชนิดของ WAV files ที่รวมข้อมูลของ pitch กับ tempo เข้าไว้ด้วยกัน Acidized WAV สามารถถูกอ่านได้โดย Sonic Foundry Acid และโปรแกรมอื่นๆที่สามารถให้ samples ที่จัด pitch and tempo ได้โดยอัตโนมัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น