วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีการใช้งานเครื่องมือ โปรแกรม Ulead Video Studio เบื้องต้น

Ulead นั้นก็สามารถที่จะจับภาพแบบ analog ได้เช่นกัน ในกรณีนี้ คุณจะต้อง
าการ์ดจับภาพเช่นการ์ดรับโทรทัศน์ที่เป็นแบบ analog มาใช้งาน
 การใช้งานนั้นก็เหมือนกับการ firewire นั่นแหล่ะ

ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ 


โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Ulead VideoStudio

1. Step Panel
กลุ่มของปุ่มที่ใช้สลับไปมาในขั้นตอนต่างๆ ของการตัดต่อวีดีโอ

 เช่น ต้องการจับภาพจากกล้องวีดีโอก็คลิกปุ่ม Capture 
หากต้องการแก้ไข/ตัดต่อวีดีโอ คลิกปุ่ม Edit ต้องการใส่ข้อความในวีดีโอ
 คลิกปุ่ม Title เป็นต้น

2. Menu Bar
แถบเมนูของชุดคำสั่งต่างๆ เช่น สร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการ

 บันทึกโครงการ เป็นต้น

3. Options Panel
ส่วนนี้จะมี ปุ่มและข้อมูลอื่นๆ ที่ให้คุณได้ปรับแต่งคลิปที่คุณเลือกไว้ 

ฟังชั่นก์ต่างๆ ในส่วนนี้จะเปลี่ยนไปตามขั้นตอนที่คุณกำลังทำงานอยู่ 
เช่น คุณเลือกคลิปวีดีโอ ก็จะมีฟังก์ชั่นต่างๆ สำหรับจัดการกับคลิปวีดีโอ
 หรือคุณเลือกเสียง ก็จะมีฟังก์ชั่นสำหรับการจัดการเรื่องเสียง เป็นต้น

4. Preview Window
หน้าต่างแสดงคลิปปัจจุบัน, ตัวกรองวีดีโอ, เอฟเฟ็กต์, หรือตัวหนังสือ 

ดูผลลัพธ์ของการตัดต่อต่างๆ สามารถดูได้ในหน้าต่างนี้

5. Navigation Panel
มีปุ่มสำหรับเล่นคลิปวีดีโอและสำหรับตัดวีดีโอ ในขั้นตอนการจับภาพ,

 ส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ควบคุมกล้องวีดีโอ เช่น
 เล่นวีดีโอ หยุด หยุดชั่วขณะ กรอไปข้างหน้า กรอกลับ เป็นต้น

6. Library
เก็บและรวบรวมทุกอย่างไว้ ไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ, เสียง, ภาพนิ่ง, 

เอฟเฟ็กต์ต่างๆ เป็นต้น ทำให้สะดวกในการเรียกใช้งาน

7. Timeline
แสดงคลิป, ตัวหนังสือและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่อยู่ในโครงการ



Step Panel

ส่วนนี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ ขั้นตอนเหล่านี้

 ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอน หรือข้ามขั้นตอนใดก็ได้ 
ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวีดีโอของคุณเอง

ขั้นตอนตัดต่อคือ

1.Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)

2.Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)

3.Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)

4.Overlay (ทำภาพซ้อน)

5.Title (ใส่ตัวหนังสือ)

6.Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)

7.Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)

ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้ เช่น

 อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้
 หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้ 
ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อวีดีโออย่างไร
 และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ

ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ

เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้ คุณสามารถที่

จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้ 
วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียง
ฟล์เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ
 และในขั้นตอนการจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยัง
ามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้อีกด้วย

ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้

 Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ 
ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับ
เหตุการณ์ในขั้นตอนนี้ หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ 
เช่น หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่า
คลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่อง เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของ
วีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ ก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว 
เช่น จับภาพวีดีโอมาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ 
ส่วน ก็สามารถตัดแยก scene วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง
 scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการออก ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่
ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออก และการใส่วีดีโอฟิลเตอร์
 (เช่น การใส่ตัวฟิลเตอร์ฝนตกในคลิปวีดีโอ ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ ) 
ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน

ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition) ระหว่างคลิปวีดีโอใน

 project ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ ให้เลือกอย่างมากมายใน Library

ทรานสิชั่น เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

 เช่น ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ
 ชัดเจนขึ้น หรือ ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกัน
ของทั้งสองฉาก เป็นต้น นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง

ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่ 

เหมือนกับที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา
 แล้วก็มีกรอบเล็กๆ เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่

ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล 

หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำ ถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น
 สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ
 เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน
 เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ 
หรือจะวิ่งจากด้านขวามือมาซ้ายมือ
 หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้

ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น CD 

แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ทำดนตรีประกอบได้ บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ
 รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับในบางช่วงขณะ
ที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น
 หรือปรับระดับเสียงของดนตรีประกอบ เป็นต้น

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอ

สำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับ
ผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง
 เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD

ความหมายของ โปรแกรม Ulead Video Studio เบื้องต้น


      ในปัจจุบันงานวิดีโอได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ด้วยความสามารถ
องงานทางด้านมัลติมีเดีย ที่ทำให้การนำเสนองานของเราน่าสนใจแล้ว
 ราคากล้องวิดีโอก็ราคาถูกลงมามากและหาซื้อได้ไม่ยาก พร้อมกับโปรแกรม
ที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอก็มีให้เลือกใช้มากมายและก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะเรียนรู้
 สำหรับสื่อนี้จะขอนำเสนอการตัดต่อด้วยโปรแกรม
Ulead Video Studio 8 เพื่อเป็นพี้นฐานในการตัดต่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้

ประโยชน์ของงานวิดีโอ
1. แนะนำองค์กรและหน่วยงาน การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ 

หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงาน
และองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจใน

ตัวงานได้ง่ายขึ้น
2. บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยว

ในที่สถานที่ต่างๆ งานวันเกิดงานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงาน
หรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
3. การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไ

ว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอ
โดยตรง เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT 

เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage และอื่นๆ
4. การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ 

ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพ
ประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
5. วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง 

วิทยากรที่เชิญมาบรรยาย ผู้จะเกษียณอายุจากการ
ทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ
ที่กล่าวมานี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองเห็นความสำคัญของงานวิดีโอมากขึ้น

 และได้รู้ว่าการทำวิดีโอไม่ได้ลงทุนมากและยุ่งยากอย่างที่คิดจากประสบการณ์
ในการทำงานวิดีโอ สรุปได้ว่าวิดีโอที่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนที่ใช้
 แต่ขึ้นอยู่กับความปราณีต และความคิดสร้างสรรค์

แนวคิดในการสร้างวิดีโอ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด 

วางแผนมาอย่างรอบครอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย 
โดยไม่มีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอ
ก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้อง
กับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวิดีโอ
อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้อง
การ จะไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไข้ภายหลัง โดยมีลำดับแนวคิดของ

งานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้


1. เขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ การเขียนStoryboard คือ

 การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริง
ในการเขียน Storyboard อาจวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพปรกอบก็ได้

 เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้อง
การสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง

 เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......

2. เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน

 ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือ
ไฟลดนตรี

3. ตัดต่องานวิดีโอ
การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ

 งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับ
การตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน

4. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง
ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแด่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ 

ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียง
ดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

5. แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เรา

ได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio 
สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV 
สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต

อุปกรณ์ในการตัดต่อวิดีโอ1. เครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกาณ์ชิ้นแรกที่จำเป็นต้องมี ปัจจุบัน
เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล ทำให้เราสามารถมีเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาประหยัด สำหรับ
เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการตัดต่อควรมีสเป็คเครื่อง
ขั้นต่ำ ดังนี้
* ซีพียู แนะนำ Pentium 4 ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป
* แรมหรือหน่วยความจำ ขนาด 512 MB ขึ้นไป
* ฮาร์ดดิสก์ 80 GB ซึ่งปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์
มีความจุ ฮาร์ดดิสก์มากพออยู่แล้ว
* ระบบปฏิบัติการ แนะนำให้ใช้ Windows XP/2000



2. กล้องถ่ายวิดีโอ
กล้องถ่ายวิดีโอ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ แต่ในที่จะ
กล่าวถึงการใช้งานเฉพาะกล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอล หรือ
กล้องดิจิตอลแบบ MiniDV



3. Capture Card (การ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ)
เนื่องเราไม่สามารถนำภาพวิดีโอที่อยู่ ในกล้องวิดีโอมาใช้กับ
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ที่
เรียกว่าการ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ ช่วยเปลี่ยน
เสมือนเป็นสื่อกลางในการส่งถ่ายข้อมูล จากกล้องมายังเครื่อง
คอมพิวเตอร์นั้นเอง และแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ
ก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน



4. ไดรว์สำหรับเขียนแผ่น CD หรือ DVD
อุปกรณ์นี้จำเป็นต้องมีหากเราต้องการสร้างงานให้อยู่ในรูปแบบ VCD 

หรือ DVD ซึ่งในปัจจุบันก็หาซื้อได้ไม่ยาก ราคาก็ไม่แพง


5. แผ่น CD สำหรับบันทึกข้อมูล
แผ่น CD-R (CD-ReWrite หรือ CD Record) ใช้สำหรับ
บันทึกข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลต่างๆ โปรแกรมเพลง รูปภาพ
และภาพยนตร์ สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวจนกว่าจะเต็มแผ่น




แผ่น CD-RW (CD-Write) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลทั่วไป
เช่นเดียวกับแผ่น CD-R แต่มีความพิเศษกว่าตรงที่สามารถที่จะ
เขียนหรือบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลที่เขียนไปแล้วได้


6. ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดรว์
ดีวดีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ (DVD+-RW drive) ก็คล้ายกับ
ซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์นั่นเอง คือสามารถอ่านและขียนแผ่นดีวีดี
แบบพิเศษ คือแผ่น DVD+-R และแผ่น DVD+-RW ได้




รูปแบบของแผ่นดีวีดี
แผ่นดีวีดีอาร์
ดีวีดีอาร์ (DVD+R : Digital Versatile Disc-Recordable)
เป็นแผ่นดีวีดีที่ผู้ใช้สามารถบันทึก หรือเขียนข้อมูลลงไปได้ครั้งเดียว 

จนกว่าจะเต็มแผ่น มีให้เลือกแบบด้านเดียว และ 2 ด้าน
ในความจุด้านละ 4.7 GB แผ่น ประเภทนี้ยังแบ่งออกเป็น 2
มาตรฐาน (จาก 2 ค่าย) คือ แผ่น DVD-R DVD+R




แผ่นดีวีดีอาร์ดับบลิว
ดีวีดีอาร์ดับบลิว (DVD+RW : Digital Versatile Disc-Re-recordable) 

เป็นแผ่นดีวีดีที่ใช้เขียน และลบข้อมูลได้
หลายครั้งมีความจุ 4.7 GB

วิธีการสร้างงานใน โปรแกรม Ulead Video Studio เบื้องต้น

โปรแกรม ULEAD VIDEOSTUDIO 11 เป็นโปรแกรมที่เป็นที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบัน
 เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ไม่ยากมากนัก สามารถเรียนรู้การใช้งานได้ด้วยตนเอง
 โดยที่ ULEAD VIDEO STUDIO 11 นั้น เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอตั้งแต่
ระดับพื้นฐานจนไปถึงระดับมืออาชีพ รวมไปถึงการทำภาพสไลด์โชว์ การนำเสนองาน 
presentation โปรแกรม ULEAD VIDEOSTUDIO 11 นั้นมีเทคนิคและ effect ต่างๆ
มากมายที่สามารถที่จะทำให้งานของเราเป็นงานระดับมืออาชีพได้ในที่นี้ มาดูกันเลยว่า
ในใช้งานกันยังไงบ้าง อาจยาวนหน่อยแต่อ่านแล้วทำตาม เราสามารถทำได้แน่นอน


ก่อนอื่นเราต้องติดตั้งโปรแกรมกันก่อนนะครับ เมื่อติดตั้งตัวโปรแกรมแล้ว
 ก็เปิดการใช้งานเลือกที่ VideoStudio Editor เพื่อสร้างไฟล์วีดีโอ


ตรงส่วนนี้จะมีให้เลือกหน้าตาในการปรับแต่งไฟล์วีดีโอ

จากนั้นให้ Right Click ที่ช่องแนบไฟล์ เพื่อเลือกไฟล์ภาพ หรือวีดีโอ

เลือกไฟล์ที่ต้องการใส่ในวีดีโอ สามารถลากเมาส์เพื่อเลือกทีละมากกว่าหนึ่งไฟล์
 จากนั้นกด Open

หากต้องการใส่เพลงให้กับวีดีโอ ก็ให้ Right Click แล้วเลือกแนบไฟล์ Audio

เลือกเพลงที่ต้องการ แล้วกด Open

ก็จะได้เช่นนี้

พึงจดจำ หมั่นเซฟไฟล์โปรเจคเป็นระยะๆ เพื่อว่าหากมีข้อขัดข้อง โปรแกรมไม่ทำงาน
 เรายังสามารถเรียกงานเดิมกลับมาทำใหม่ได้ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ !

ไฟล์ที่ได้มา จะเป็นนามสกุล .VSP เป็นไฟล์โปรเจคของโปรแกรม Ulead

นอกจากไฟล์ภาพแล้ว ยังสามารถแนบไฟล์วีดีโอ มาสร้างไฟล์ร่วมกันได้

จากนั้นเป็นการปรับแต่งไฟล์วีดีโอที่จะทำ
Effect : การใส่แอนนิเมชั่นให้รูปภาพและไฟล์วีดีโอ

ยังมีอีเฟคต่างๆ ให้เลือกตามที่ต้องการ

อีเฟคระหว่างไฟล์ เราสามารถจับลากให้สั้นยาวได้ตามต้องการ แต่จะต้องคอยปรับ
ความยาวของภาพและไฟล์ด้วยตามลำดับ เนื่องจากอีเฟคเหล่านี้จะย่นความยาว
ของไฟล์โดยอัตโนมัติ เพื่อแทรกแอนนิเมชั่น
Tips :
เนื่องจากมีอีเฟคมากมายให้เลือก แต่มิใช่ว่าเราจะใช้ทั้งหมด เราสามารถเลือก
เพียงแค่ไม่กี่อย่าง ที่เราชอบและใช้บ่อย ไว้ในหมวดที่ฉันชื่นชอบ เพื่อเรียกใช้
ได้สะดวกขึ้น ด้วยการ Right Click –> Add to My Favorites
หลังจากเพิ่มอีเฟคหมดแล้ว ก็ปรับแต่งความยาวของแต่ละไฟล์ตามต้องการ

Title : การใส่ข้อความลงในวีดีโอ
เป็นการใส่ข้อความต่างๆ ลงบนหน้าจอวีดีโอ สำหรับยูหลีด11 
สามารถใส่ภาษาจีนได้ แต่ยูหลีด10 ไม่แสดงผลภาษาจีน
แอนนิเมชั่นข้อความ ที่มากับตัวโปรแกรม ก็มีให้เลือกสรรมากมายอยู่แล้ว
 เราสามารถเลือกแอนนิเมชั่นที่เราต้องการ แล้วจับลากลงช่อง Text

Doubble Click ที่กล่องข้อความ เพื่อทำการแก้ไขปรับแต่งต่างๆ

ส่วนนี้คือการปรับตำแหน่งของกล่องข้อความ

ส่วนนี้คือการปรับแต่งฟอนต์ และอีเฟคต่างๆ ของข้อความ

ถัดไป คือการปรับแต่งแอนนิเมชั่นของกล่องข้อความ 
ในการแสดงผลติ๊กที่ Apply animation เพื่อให้แสดงผลแอนนิเมชั่นของกล่องข้อความ

ส่วนนี้คือการปรับแต่งเพิ่มเติม ของการแสดงผลแอนนิเมชั่น
ในการแก้ไขข้อความ ให้ Doubble Click ที่กล่องข้อความที่หน้าจอ
 จึงจะสามารถเปลี่ยนข้อความได้

เช่นกัน กล่องข้อความก็สามารถลากสั้นยาวได้ตามที่ต้องการ

Audio : การปรับแต่งไฟล์ออดิโอของวีดีโอ
เป็นการปรับแต่งต่างๆ ให้กับไฟล์เสียง เช่น ปรับเสียง หรืออีเฟคอื่นๆ
 เพิ่มเติม (สามารถค่อยๆ ศึกษาต่อภายหลัง)
คลิ้กที่ไฟล์ออดิโอ

ในส่วนนี้คือการปรับแต่ง ส่วนของการแยกลำโพงซ้ายขวานั้นเหมาะกับการสร้างวีดีโอ
 จากไฟล์วีดีโอที่มีการพากษ์เสียงมากกว่าหนึ่งภาษา หรือไฟล์คาราโอเกะ
 เราสามารถปรับตรงนี้เพื่อเลือกภาษาเดียว หรือเลือกแค่เสียงคาราโอเกะ

เมื่อเสร็จสิ้นการปรับแต่งเบื้องตน ก็ถึงลำดับของการสร้างไฟล์วีดีโอ 
คลิ้กที่ Share เพื่อสร้างไฟล์

เลือกรูปแบบไฟล์ที่ต้องการจะสร้าง ในกรณีของการสร้างไฟล์วีดีโอ
 สำหรับทำแผ่นวีซีดี แนะนำให้เลือก mpeg2 ซึ่งเป็นไฟล์ชนิดเดียวกันกับ
 mpeg1 แต่คุณภาพรูปภาพจะชัดกว่า mpeg1 หนึ่งเท่าตัว
หรือจะเลือกเป็น SVCD หรืออื่นๆ ก็ได้เช่นกัน

หลังจากนั้นก็ปล่อยให้โปรแกรมเรนเดอร์ไฟล์วีดีโอ (สร้างไฟล์วีดีโอ) 
ในระหว่างนี้ ไม่ควรเปิดโปรแกรมอื่นๆ มาใช้งาน เพื่อว่าจะได้ไฟล์ที่มีคุณภาพดีที่สุด

ลูกเล่นเพิ่มเติม !
การสร้างไฟล์วีดีโอ ยังสามารถเพิ่มฉากหลังให้กับวีดีโออีกด้วย
 ด้วยการแยกการแนบไฟล์ไว้สองบรรทัด โดยที่บรรทัดบนคือฉากหลัง
 บรรทัดล่างคือฉากหลัก(ในการแนบไฟล์ภาพหรือวีดีโอ มันอาจจะอยู่บนบรรทัดบนหม
 เพียงแค่จับลากมาไว้บรรทัดล่าง ก็สามารถแยกได้ จากนั้นก็ตามปรับลำดับภาพต่างๆ
 ตามที่ต้องการ

สำหรับฉากหลัง การเพิ่มอีเฟค จะเป็นดังเช่นด้านบนที่อธิบายไว้ แต่สำหรับฉากหลัก
 การเพิ่มแอนนิเมชั่นจะไม่เหมือนกันเริ่มแรกคือการปรับขนาดหน้าจอฉากหลัก
 ด้วยการคลิ้กที่หน้าต่างนั้นๆ แล้วลากขนาดตามที่ต้องการ

เมื่อปรับขนาดตามที่ต้องการแล้ว และปรับแต่งแอนนิเมชั่นอื่นๆ เสร็จสิ้นแล้ว
 และต้องการให้ไฟล์อื่นๆ มีขนาดเดียวกัน ให้ Right Click ที่ไฟล์นั้นๆ 
แล้วเลือก Copy Attributesจากนั้นให้ Right Click ที่ไฟล์อื่นๆ 
แล้วเลือก Past Attribues เพื่อให้แสดงผลแอนนิเมชั่นอย่างเดียวกัน

ตรงส่วนนี้จะเป็นการปรับแอนนิเมชั่นของฉากหลัก ส่วนที่ติ๊กไว้ 
คือให้แสดงผลของการซูมรูปภาพ

เสร็จสิ้น ไฟล์วีดีโอที่ได้ ก็จะมีฉากหลังที่เราต้องการ ให้ดูเพลินตาอีกต่อหนึ่ง